X

น้ำมันปลา กิฟฟารีน ชนิดแคปซูลนิ่ม ทานง่าย สำหรับคนรักข้อ

น้ำมันปลา กิฟฟารีน ชนิดแคปซูลนิ่ม ทานง่าย สำหรับคนรักข้อ

 

น้ำมันปลา กิฟฟารีน ชนิดแคปซูลนิ่ม ทานง่าย สำหรับคนรักข้อ น้ำมันปลา ประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็นประเภทโอเมก้า 3 อยู่ในปริมาณสูง ซึ่งในกลุ่มของโอเมก้า 3 นั้น มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 2 ชนิดที่สำคัญได้แก่ 1. กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid) หรือ DHA 2. กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (Eicosapentaenoic Acid) หรือ EPA

 

แหล่งของ DHA และ EPA ในธรรมชาติพบมากในปลาทะเล และสาหร่าย โดย EPA จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด (อ้างอิงที่ 1) ขณะที่ DHA มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง เพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผลงานวิจัยแสดงอย่างชัดเจนว่า สาร DHA ในน้ำมันปลามีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งแต่แรกเกิดที่ต้องการ DHA ในปริมาณมากและเพียงพอ เพื่อใช้ในการพัฒนาสมองได้อย่างเต็มที่ในวัยผู้ใหญ่ (อ้างอิงที่ 2) DHA จะผ่านเข้าไปในสมองและเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดรต์ (dendrite) ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้และการจดจำ (อ้างอิงที่ 3) นอกจากนี้ DHA ยังมีความสำคัญต่อระบบประสาทตาและระบบการทำงานของสายตาอีกด้วย (อ้างอิงที่ 2)

DHA ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความจำเสื่อม ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มโรคความจำเสื่อม โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองในส่วนที่ควบคุมการเรียนรู้และความจำ โรคนี้ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และอัตราความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น (อ้างอิงที่ 4) โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดเซลล์สมองฝ่อเร็วกว่าคนทั่วไป (อ้างอิงที่ 5)

 

 

โรคอัลไซเมอร์ จะส่งผลให้เกิดความจำเสื่อม การทำงานประสานของร่างกายลดลง พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หลงลืม สับสน และไม่สามารถปฏิบัติงานที่เคยทำปกติได้ การมีเหตุผลจะลดลง ที่สำคัญคือเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้(อ้างอิงที่ 4) ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 33.9 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าในอีก 40 ปีข้างหน้า สำหรับในประเทศไทยซึ่งมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งหมดประมาณ 8.3 ล้านคน คาดว่าจะมีผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 8.3 แสนคน และคาดการณ์ได้ว่าโรคอัลไซเมอร์จะเป็นปัญหาทางสาธรณสุขที่รุนแรงขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้เป็นโรคเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัวอีกด้วย ดังนั้น โรคอัลไซเมอร์จึงเป็นโรคที่น่ากังวลในปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างมาก (อ้างอิงที่ 6)

หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์คือ การสะสมของ อะไมลอยด์ เบต้า (Amyloid Beta) จนกลายเป็น อะไมลอยด์ พล๊าค (Amyloid Plaques) ซึ่งมีความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท โดยจะทำลายสมดุลไอออน ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำลายโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ที่มีไขมันและโปรตีนเป็นส่วนประกอบ และทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ Microglia ซึ่งเมื่อ Microglia ถูกกระตุ้นจะทำให้เกิดการหลั่งสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่เป็นพิษต่อ ระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุให้เซลล์สมองถูกทำลาย (อ้างอิงที่ 4,7)

มีงานวิจัยสนับสนุนว่า DHA ในน้ำมันปลาช่วยเพิ่มสารที่มีชื่อว่า LR11 โปรตีน ซึ่งสามารถช่วยลดการเกิดอะไมลอยด์ เบต้า (Amyloid Beta) ที่จะรวมตัวเป็น อะไมลอยด์ พล๊าค (Amyloid Plaques) หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ (อ้างอิงที่ 8) อีกงานวิจัยที่ทำการทดลองกับผู้สูงอายุ พบว่า การรับประทาน DHA วันละ 900 มก. เป็นเวลา 6 เดือน สามารถเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และการจดจำได้ดี (อ้างอิงที่ 9) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพิ่มเติมสนับสนุนว่า DHA สามารถชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมประเภทอัลไซเมอร์ได้ โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ และมีความปลอดภัยสูง (อ้างอิงที่ 10) รวมถึงงานวิจัยระบุว่าการที่ร่างกายได้รับ DHA ที่ไม่เพียงพอจะมีแนวโน้มทำให้มีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระ เกิดปฏิกริยา lipid peroxidation ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ (อ้างอิงที่ 11)

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยในประเทศออสเตรเลีย โดยศึกษากับเด็ก อายุ 7-12 ปี ที่มีอาการสมาธิสั้นพบว่า การเพิ่มขึ้นของดีเอชเอในเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เด็กมีการอ่านคำที่ดีขึ้น การสะกดคำที่ดีขึ้น ความสนใจดีขึ้น พฤติกรรมที่ผิดปกติ ความกระสับกระส่าย และอาการสมาธิสั้นโดยรวมลดลง (อ้างอิงที่ 12) และมีงานวิจัยในประเทศโอมาน ระบุว่าเด็ก ที่เป็นโรคออทิซึม หรือ ผู้ป่วยออทิสติก จะมีระดับของ DHA ในเม็ดเลือดแดงต่ำเช่นเดียวกัน (อ้างอิงที่ 13)

ดังนั้นการรับประทานอาหาร หรือ อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของ กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA เป็นประจำ จะมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น และผู้ป่วยออทิสติก นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ และมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง เพิ่มการเรียนรู้ และการจดจำได้อีกด้วย

 

 

อาหารสุขภาพที่มีคุณประโยชน์ต่อไขข้อ

ข้อต่อของร่างกายที่เคลื่อนไหวได้ จะประกอบด้วยปลายของกระดูก 2 ชิ้นที่บุด้วยกระดูกอ่อนมาประกอบกัน มีพังผืดหุ้มรอบข้อต่อ ภายในข้อต่อบุด้วยเยื่อสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อ ช่องว่างของข้อต่อมีน้ำหล่อเลี้ยงบรรจุอยู่ หน้าที่ของข้อต่อคือเพื่อการเคลื่อนไหวและรับน้ำหนัก ดังนั้นกระดูกอ่อนจึงทำหน้าที่เป็นตัวกันการสะเทือนน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อเปรียบเสมือนน้ำมันเครื่อง ถ้าปราศจากกระดูกอ่อนและน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อแล้ว ข้อต่อจะเกิดการเสียดสีมากทำให้เสื่อมอย่างรวดเร็ว

 

 

อาหารสุขภาพที่มีงานวิจัยรองรับว่ามีคุณประโยชน์ต่อกระดูกและข้อ 

1.คอลลาเจน

คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบหลักของกระดูกอ่อน (Cartilage) ซึ่งบุอยู่ที่ส่วนปลายกระดูกข้อต่อ การเสริมด้วยคอลลาเจนจึงอาจจะมีประโยชน์ในกระบวนการสร้างกระดูกอ่อน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ พบว่าการให้สารสกัดจากคอลลาเจนทำให้อาการโรคข้อดีขึ้น (อ้างอิงที่ 4-5)

2.น้ำมันปลา

น้ำมันปลามี DHA และ EPA ซึ่ง่จะช่วยลดการสร้างโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ชนิดลิวโคไตรอีน (Leukotrienes) ซึ่งเป็นสารก่อการอักเสบ (Proinflammatory Mediator) ทำให้สามารถลดการอักเสบและบวมของข้อได้ มีงานวิจัยที่ใช้น้ำมันปลากับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatiod Arthritis) พบว่าการบวมของข้อ (Joint Swelling Index) รวมทั้งการเคลื่อนไหวลำบากของข้อ (Duration of Morning Stiffness) ลดลง (อ้างอิงที่ 6-7)

 

 

น้ำมันปลาต่างกับน้ำมันตับปลาอย่างไร

จากความใกล้เคียงกันของชื่อ ทำให้มีผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดกันอย่างมาก คิดว่าน้ำมันปลา และน้ำมันตับปลา คือ สารอาหารชนิดเดียวกัน แม้ว่าทั้งน้ำมันปลา และน้ำมันตับปลาจะเป็นสารอาหารที่ได้จากปลา แต่ก็ มีความแตกต่างกันในเรื่องของสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบ และความปลอดภัยในการรับประทาน

ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้ได้กรดไขมันโอเมก้า-3 (EPA+DHA) ที่มีความปลอดภัย และให้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพนั้น ควรรับประทานจากน้ำมันปลาที่ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตยา เริ่มตั้งแต่การคัดสรรแหล่งวัตถุดิบที่ปราศจากมลภาวะปนเปื้อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาที่รับประทานจะให้กรดไขมันโอเมก้า-3 ปริมาณสูง และปราศจากสารปนเปื้อน การแต่งสี แต่งกลิ่น เพื่อความปลอดภัยในระยะยาว

 

 

 

รายละเอียดสินค้าและราคา 

 

น้ำมันปลา 1000 มก.  ( 4X )
ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณใน 1 แคปซูล: 

กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (อีพีเอ) 100 มก.
กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (ดีเอชเอ) 500 มก.

-รหัสสินค้า 40117
ปริมาณสุทธิ : 30 แคปซูล
ราคา 620 บาท

-รหัสสินค้า 40118
ปริมาณสุทธิ : 60 แคปซูล
ราคาสินค้า 1,060 บาท

________________________________

น้ำมันปลา 1000 มก.
ส่วนประกอบที่สำคัญใน 1 แคปซูล :

วิตามินอี(1200หน่วยสากล/กรัม) 4160 มก.
ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ : กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (อีพีเอ) 180 มก.
กรดโดโอซาเฮกซาอีโนอิก (ดีเอชเอ) 120 มก.

-รหัสสินค้า 40205
ปริมาณสุทธิ : 90 แคปซูล
ราคาสินค้า 540 บาท

-รหัสสินค้า 40206
ปริมาณสุทธิ : 50 แคปซูล
ราคาสินค้า 350 บาท

________________________________

น้ำมันปลา 500 มก.
ส่วนประกอบที่สำคัญใน 1 แคปซูล :

วิตามินอี (1200 หน่วยสากล/กรัม) 2,080 มก.
ประกอบด้วย : กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (EPA) 90 มก.
กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (DHA) 60 มก.

-บรรจุ 90 แคปซูล
รหัสสินค้า 40207
ราคาสินค้า 320 บาท

-บรรจุ 50 แคปซูล
รหัสสินค้า 40208
ราคาสินค้า 200 บาท

________________________________

เอกสารอ้างอิง:

1. Robert Oh. Practical Applications of Fish oil (omega-3 fatty acids) in Primary Care. J Am Board Farm Pract 2005;18:28-36

2. A Diet Enriched with the Omega-3 Fatty Acid Docosahexaenoic Acid Reduces Amyloid Burden in an Aged Alzheimer Mouse Model. The Journal of Neuroscience, March 23,2005;25(12):3032-3040

3. ทางเลือกในการพัฒนาสมองด้วยสาร DHA โดย สิงหะเนติ, สรวงสุดา 2541 สาร DHA ทางเลือกในการพัฒนาสมอง วิทยาศาสตร์และโทคโนโลยี 13(2)พค.-สค. (ออนไลน์): http://www.school.net.th/library/snet4/anatomy/dha.htm

4. Expression of Amyloid-Beta and Interleukin-13 Recombinant Protein in Escherichia coli . National Graduate Research Conference Nokhon Ratchasima Rajabhat University.

5. Risk factors: Alzheimer’s association [Internet]. 2008 :[about 5 p.].Available from: http://www.alz.org/alzheimers_disease_causes_risk_factors.asp

 

สนใจสมัครตัวแทนหรือสั่งซื้อ ติดต่อ id : @clubgiff / T.083-462 5537

สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : Giffarine Club
Email : imkanokwan1980@gmail.com
โทร. 083-4625537 /Line id : @clubgiff

Facebook Comments