X

กิฟฟารีน น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ดีอย่างไร

กิฟฟารีน น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ดีอย่างไร

 

กิฟฟารีน น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ดีอย่างไร น้ำมันมะพร้าวได้รับการยอมรับว่าเป็น “ต้นไม้แห่งชีวิต” เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อีกทั้งยังนำมาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพได้อีกด้วย

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว

เนื่องจากกระแสการนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นครีมบำรุงผิว น้ำมันหมักผม แชมพู ครีมนวดผม หรือแม้กระทั่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทำให้น้ำมันมะพร้าวได้รับการยอมรับว่าเป็น “ต้นไม้แห่งชีวิต” เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อีกทั้งยังนำมาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพได้อีกด้วย

 

 

น้ำมันมะพร้าว(Coconut Oil)

 

น้ำมันมะพร้าวสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทตามกระบวนการผลิต คือ

1.น้ำมันมะพร้าวทั่วไป (RBD Coconut oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตจากเนื้อมะพร้าวแห้ง (Copra) นำมาทำให้บริสุทธิ์ (Refined) ฟอกสี (Bleached) และกำจัดกลิ่น (Deodorized) ก่อนจะนำไปบริโภคหรือใช้ในการประกอบอาหาร น้ำมันมะพร้าวทั่วไปนี้จะมีความหนืด และมีสีเหลืองอ่อน

2.น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin Coconut Oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตโดยวิธีการสกัดเย็น (Cold Pressed)ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี หรือการให้ความร้อนใดๆทำให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพพิเศษ ที่ยังคงมีกลิ่นหอม และรสชาติที่ดี อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย

 

 

องค์ประกอบสำคัญในน้ำมันมะพร้าวที่มีผลต่อสุขภาพ

องค์ประกอบหลักของน้ำมันมะพร้าวเป็นกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่า 90% รองลงมาคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินอี สารประกอบฟีนอลิก และสารไฟโตสเตอรอล โดยกรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ที่พบในน้ำมันมะพร้าวคือกรดลอริก (lauric acid) มีอยู่ปริมาณ 45-50% ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง (Medium chain fatty acid)ที่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและถูกเผาผลาญได้ดี จึงสะสมในร่างกายได้น้อยกว่าไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาวในน้ำมันชนิดอื่นๆเมื่อบริโภคน้ำมันมะพร้าว กรดลอริกจะถูกเปลี่ยนเป็นโมโนลอริน (monolaurin) ซึ่งเป็นโมโนกลีเซอไรค์ชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่ในน้ำนมมารดาแรก คลอดหรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่า นมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นสารสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคต่างๆให้กับทารกแรกคลอดในระยะ 6 เดือนแรกของชีวิต ก่อนที่ร่างกายจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันเองได้ อีกทั้งโมโนลอริน ในน้ำมันมะพร้าวจะมีคุณสมบัติเป็นสารปฎิชีวนะที่สามารถต้านเชื้อโรค เชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย โปรโตซัว และพยาธิ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า น้ำมันมะพร้าวมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง(อ้างอิงที่ 1)

วิตามินอี (Vitamin E) น้ำมันมะพร้าวมีวิตามินอี ในรูปของในรูปโทโคเฟอรอล(tocopherol) และ โทโคไทรอีนอล (tocotrienol)สารดังกล่าวมีคุณสมบัติในการยับยั้งออกซิเดชั่น หรือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันความเสื่อมของร่างกายและป้องกันการเกิดโรคต่างๆเช่น โรคมะเร็ง หัวใจ ไขข้ออักเสบ เบาหวาน โรคภูมิแพ้ และการชราภาพก่อนวัยนอกจากนี้สารฟีนอลิก (phenolic compound) และสารไฟโตสเตอรอล (phytosterol) ยังเป็นสารต้านอนุมูลที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่นกัน(อ้างอิงที่ 2)

มีการศึกษาเป็นเวลาต่อเนื่อง เพื่อชี้ให้เห็นว่าน้ำมันมะพร้าวดีต่อสุขภาพของหัวใจ แม้จะทราบกันดีว่าการบริโภคไขมันอิ่มตัว อาจจะก่อให้เกิดโรคหัวใจ แต่การบริโภคน้ำมันมะพร้าวกลับมีส่วนช่วยลดปัจจัยการเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเมื่อเปรียบเทียบกับการบริโภคน้ำมันชนิดอื่นๆ กล่าวคือ น้ำมันมะพร้าวมีส่วนช่วยปรับสัดส่วนของ ไขมัน HDL และ LDL โดยจะลดแนวโน้มการแข็งตัวของเลือด อันเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจอุดตันหรือแข็งตัว ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด(อ้างอิงที่ 3)

 

 

ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพโดยรวม

เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
-ปกป้องเซลล์ตับลดภาวะตับอักเสบเรื้อรังจากพิษสุรา (อ้างอิงที่ 4)
ต้านเชื้อโรค
-ช่วยลดไขมันชนิดไม่ดี (LDL)ลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL)อีกด้วย
-ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และโรคร้ายแรงต่างๆ
-ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
-เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
-ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย
-ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง(อ้างอิงที่ 5)

ในปัจจุบันนิยมบริโภคน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ เนื่องจากเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ จึงมีความปลอดภัยและสามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพได้มากมาย โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายและผลข้างเคียงใดๆต่อร่างกาย

 

เอกสารอ้างอิง :

1.Li, D.F., Thaler, R.C., Nelssen, J.L., Harmon, D.L., Allee, G.L.andWeeden, T.L.1990. Effect of fat sources and combinations on starter pig performance, nutrient digestibility and intestinal morphology.JAnimSci 68:3694–3704

2.Ross, I.A., Cocos nucifera : medicinal plants of the world, volume 3. Humana Press, New Jersey. pp. 117-154, 2005.

3.ณรงค์ โฉมเฉลา: น้ำมันมะพร้าวป้องกันโรคมะเร็งได้อย่างไร. เอกสารวิชาการชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย 2(2):7-14, 2551

4.Kono, H., Enomoto, N., Connor, H.D., Wheeler, M.D., Bradford, B.U., Rivera, C.A., Kadiiska, M.B., Mason ,R.P. andThurman, R,G.2002. Medium-chain triglycerides inhibit free radical formation and TNF-alpha production in rats given enteral ethanol.Am J PhysiolGastrointest Liver Physiol. 278(3):467-76.

5.Kappally, S., Shirwaikar, A. and Shirwaikar,A. 2016. Coconut oil – a review of potential applications. Review Article. 7(2):34-41.

 

 

สนใจสมัครตัวแทนหรือสั่งซื้อ ติดต่อ id:clubgiff

สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : Giffarine Club
Email : imkanokwan1980@gmail.com
โทร. 083-4625537 /Line id : @clubgiff

Facebook Comments